วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้

เกร็ดความรู้
เซ็นเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
Sensor เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานอุตสาหกรรมในระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งสามารถ แบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่ได้ดังนี้
1.
Limit Switch การทำงานจะอาศัยแรงกดจากภายนอกมากระทำ เช่น วางของทับที่ปุ่มกด หรือ ลูกเบี้ยวมาชนที่ปุ่มกด

การทำงานของLimit Switch
Limit Switch หมายถึง สวิทซ์ตัดวงจร ที่มีใช้อยู่ในเครื่องจักร ตั้งแต่แบบ Automatic Feed ไปจนถึง CNC machine Limit Switch นี้จะทำหน้าที่หลักในการหยุดการเคลื่อนที่ของ มอเตอร์ ในแนวแกนต่างๆ ของเครื่องจักร กรณี ที่เป็นเครื่องแบบ Auto Feed เมื่อปุ่มที่ติดอยู่ที่ราง หรือ แท่นเครื่อง เคลื่อนที่ไปแตะสวิทซ์ จะทำให้แมกเนติก คอนแทรกเตอร์ จากออกจากกัน วงจรจะไม่จ่ายกระแสไปที่มอเตอร์ขับเคลื่อน กรณี เครื่อง CNC เมื่อมีการแตะ Limit จะทำให้รีเลย์ที่ต่อวงจร ตัดการจ่ายกระแส ทำให้ไม่มีกระแสไปจ่ายที่มอเตอร์ หรือ บางกรณี เป็นการสลับ รีเลย์ ทำให้มอเตอร์หมุนกลับทาง หากเป็นกรณี ใช้ Limit Switch แบบอื่นๆ ก็ลองนึกถึงการจ่าย หรือ หยุดจ่ายกระแสให้กับวงจร ขึ้นอยู่กับว่าจะต่อวงจร เพื่อควบคุมหรือ จัดการอะไร เพราะรีเลย์ สามารถต่อได้ในแบบ no หรือ nc สรุป limit switch ก็คือ สวิทซ์ เปิด/ปิด แบบหนึ่งที่นำสัญญาน การเปิด/ปิด นี้ไปใช้งานในรูปแบบที่ต้องการ
2.Photoelectric Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมี หรือ ไม่มีวัตถุที่เราต้องการตรวจจับ โดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่กระทบกับวัตถุและ สะท้อนกลับมายังเซ็นเซอร์
การทำงานและการตรวจจับของ Photoelectric Sensor
ข้อดี
ข้อเสีย
ระยะทางการตรวจจับไกลที่สุด
ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งมาก
อัตราส่วน Dark on/Light on แยกกันชัดเจน
ต้องมีการปรับแต่งแนวแกนลำแสง
สีและพื้นผิวของวัตถุไม่มีผลกระทบต่อการตรวจจับ
ไม่สามารถตรวจจับวัตถุโปร่งใสได้
3. Proximity Sensor เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีของวัตถุโดย อาศัยหลักการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กหรือสนามไฟฟ้า
ประเภทของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์
1.เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (Inductive Sensor) เป็นเซนเซอร์ที่ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อชิ้นงานหรือวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น หรือเรียกกันทางภาษาเทคนิคว่า อินดั๊กตีฟเซนเซอร์ ข้อเด่นของเซนเซอร์ชนิดนี้ คือ ทนทานและสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง (wide temperature ranges) สามารถทำงานในสภาวะที่มีการรบกวนทางแสง (Optical) และเสียง (Acoustic) ซึ่งเทียบเท่ากับชนิดเก็บประจุ
2.เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (Capacitive Sensor) เซนเซอร์ประเภทนี้มีโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในคล้ายกับแบบเหนี่ยวนำ การเปลี่ยนแปลงของความจุ ซึ่งเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุชนิดหนึ่งเข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ เซนเซอร์ชนิดนี้สามารถตรวจจับอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นโลหะได้ และเป็นโลหะได้
หลักการทำงานของซิมิตี้เซนเซอร์
      บริเวณส่วนหัวของเซนเซอร์จะมีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความถี่สูง โดยได้รับสัญญาณมาจากวงจรกำเนิดความถี่ ในกรณีที่มีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็นโลหะเข้ามาอยู่ในบริเวณที่สนามแม่เหล็กสามารถส่งไปถึง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการหน่วงออสซิลเลท (oscillate) ลดลงไป หรือบางทีอาจถึงจุดที่หยุดการออสซิลเลท และเมื่อนำเอาวัตถุนั้นออกจากบริเวณตรวจจับ วงจรกำเนิดคลื่นความถี่ก็เริ่มต้นการออสซิลเลทใหม่อีกครั้งหนึ่ง สภาวะดังกล่าวในข้างต้นจะถูกแยกแยะได้ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใน หลังจากนั้นก็จะส่งผลไปยังเอาต์พุตว่าให้ทำงานหรือไม่ทำงาน โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของเอาต์พุตว่าเป็นแบบใด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
คณะ : เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โปรแกรมวิชา : เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ห้อง : B
มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว


นาย ปิยะวัชร รัตนพงศ์    ชื่อเล่น ต้น

ศึกษาอยู่ ราชภัฎสงขลา


ที่อยู่ 324 ม.11 ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง


จบจาก วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง  สาขาช่างก่อสร้าง

เบอร์โทร 0848581970 

คติประจำใจ  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด 

สีที่ชอบ  เขียวอ่อน

ลิค์ของเพื่อนๆ

วัสดุอุตสาหกรรม

เวาลา 13.00-15.40 น.

อ.ธนะรัตนื รัตนกลู

วิชาคอมพิวเตอร์

เรียนเวลา 08.30-12.05 น.

อ.ธภัทร ชัยชูโชค